รับจดจำนอง VS รับขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร?
ในหัวข้อข้อนี้ เราจะมาเปรียบเทียบกันดูแบบชัดๆเลยว่า การทำสัญญา จำนอง ขายฝาก ต่างกันอย่างไร
จุดมุ่งหมายในการทำสัญญา
สัญญาจำนอง : ลูกหนี้ไม่ต้องโอนทรัพย์ไปอยู่ในมือเจ้าหนี้ ส่วนใหญ่จะได้วงเงินประมาณ 30% ของราคาประเมิณ
สัญญาขายฝาก : ลูกหนี้ต้องโอนทรัพย์ไปอยู่ในมือเจ้าหนี้ ได้วงเงิน 40-70% ของราคาประเมิณ
ระยะ เวลาในการทำสัญญา
สัญญาจำนอง : ตกลงทำเวลาที่จะชำระหนี้คืน พร้อมสินไถ่ ตามที่ตกลงกัน
สัญญาขายฝาก : ตกลงทำเวลาที่จะชำระหนี้คืน พร้อมสินไถ่ ตามที่ตกลงกัน แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี
ค่าจดทะเบียน
สัญญาจำนอง : เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 1 คิดจากวงเงินที่นำมาจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
สัญญาขายฝาก : เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 จากราคาประเมิณ และต้องชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนด
การจำนอง เหมาะกับใคร ?
การจำนอง จะเหมาะสำหรับ คนที่ต้องการกู้เงิน ที่ต้องการอณุมัติเงินเร็ว และไม่ต้องการที่จะขายบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์นั้นๆ การจำนอง โดยปกติแล้ว จะได้วงเงินประมาณ 10-30% ของราคาประเมินเท่านั้น ซึ่งหากถ้าท่านต้องการวงเงินที่มากกว่านี้ อาจจะต้องเป็นสัญญากู้เงิน อีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกกันว่า สัญญาขายฝาก ครับ
*** เหตุผลที่ขายฝาก ได้วงเงินมากกว่าการ จำนอง เพราะเหตุผลในด้านของความเสี่ยงของเจ้าหนี้ครับ เพราะ การขายฝาก หากลูกหนี้เกิดผิดสัญญา เจ้าหนี้จะได้ที่ดินมาเป็นกรรมสิทธิ์ทันที แต่ในกรณีจำนอง หากลูกหนี้เกิดผิดนัดชำระ หรือไม่สามารถชำระได้ ทางเจ้าหนี้จะต้องทำการฟ้องบังคับ ขึ้นโรงขึ้นศาล ซึ่งมีความเสี่ยง และยุ่งยากลำบากกว่ามาก เพราะฉะนั้นในเคสที่ทางเจ้าหนี้จะรับจำนองจริงๆ ทรัพย์นั้นควรมีสภาพคล่องที่ดีพอ หรือประเมิณแล้วว่าทางลูกหนี้ มีกำลังในการชำระหนี้ได้สบาย จึงจะคุ้มที่จะลงทุนปล่อยกู้ ***